มารยาท ระเบียบ และข้อบังคับในการใช้อินเทอร์เน็ต จากปัญหาการล่อลวงอินเกิดจากการเล่นอินเทอร์เน็ตที่นับวันจะยิ่งมีมากขึ้น ทำให้หน่วยงานที่รับผิดชอบได้พยายามหามาตรการป้องกันปัญหาและภัยจากการใช้อินเทอร์เน็ต ซึ่งเกิดจากคนที่ขาดจิตสำนึกที่ดีต่อสังคม ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะสร้างจิตสำนึกที่ดีต่อทั้งตนเอง และสังคม เพื่อหลีกเลี่ยงและรับมือกับความเสี่ยงจากภัยออนไลน์ ทั้งนี้รองศาสตราจารย์ยืน ภู่วรวรรณ ได้กล่าวถึง บัญญัติ 10 ประการ ซึ่งเป็นจรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตควรยึดถือไว้เสมือนเป็นแม่บทของการปฏิบัติ ซึ่งผู้ใช้พึงระลึกและเตือนความจำเสมอ ดังนี้
1. ต้องไม่ให้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น เช่น ไม่เผยแพร่ข้อความกล่าวหาบุคคลอื่นให้ได้รับความเสียหาย ไม่เผยแพร่รูปภาพลามกอนาจาร เป็นต้น
2. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์รบกวนการทำงานของผู้อื่น เช่น การเล่นเกมหรือเปิดเพลงด้วยคอมพิวเตอร์รบกวนผู้อื่นที่อยู่ใกล้เคียง
3. ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาต
4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์คัดลอกหรือใช้โปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต
7. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
8. ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง
9. ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันเป็นผลมาจากการกระทำของตน
10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎ ระเบียบ กติกา และมีมารยาทของหน่วยงาน สถาบันหรือสังคมนั้นๆ
อ่านเพิ่มเติม....
วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2558
คุณธรรมเเละจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต
คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้งานอินเตอร์เน็ต
คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้งานอินเตอร์เน็ต ในสังคมอินเทอร์เน็ตนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดีเช่นเดียวกับสังคมทั่วไป ผุ้ใช้ที่ไม่ระมัดระวังจึงอาจถูกล่อลวงไปในทางที่ผิดหรือก่อให้เกิดอันตราย ได้ ฉะนั้น วิธีหนึ่งที่จะป้องกันเยาวชนไทยจากปัญหาเหล่านี้ก็คือ การให้เยาวชนรู้จักกับศิลปป้องกันตัวในอินเทอร์เน็ต
ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตควรจะรู้และยึดถือปฏิบัติ ดังนี้
1. ไม่บอกข้อมูลส่วนตัว เช่น ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ชื่อ โรงเรียนของตนให้แก่บุคคลอื่นที่รู้จักกันทางอินเทอร์เน็ต โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองก่อน
2. หากพบข้อความหรือรูปภาพใดๆ บนอินเทอร์เน็ตที่มีลักษณะหยาบคายหรือไม่เหมาะสม ควรแจ้งให้ผู้ปกครองทราบทันที
3. ไม่ควรไปพบบุคคลใดก็ตามที่รู้จักกันทางอินเทอร์เน็ตโดยไม่ได้รับอนุญาตจาก ผู้ปกครองก่อน และหากผู้ปกครองอนุญาต ก็ควรไปพร้อมกับผู้ปกครอง โดยควรไปพบกันในที่สาธารณะ
4. ไม่ส่งรูปหรือสิ่งใดๆ ให้บุคคลที่รู้จักทางอินเทอร์เน็ต โดยมิได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองก่อน
5. ไม่ตอบคำถามหรือต่อความกับผู้ที่สื่อข้อความหยาบคาย และต้องแจ้งให้ผู้ปกครองทราบทันที
6. ควรเคารพต่อข้อต่อลงในการใช้อินเทอร์เน็ตที่ให้ไว้กับผู้ปกครอง เช่น กำหนดระยะเวลาในการใช้อินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ที่ผู้ปกครองอนุญาตให้เข้าได้
จริยธรรมและคุณธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศร่วมกัน
1. ไม่บอกข้อมูลส่วนตัว เช่น ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ชื่อ โรงเรียนของตนให้แก่บุคคลอื่นที่รู้จักกันทางอินเทอร์เน็ต โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองก่อน
2. หากพบข้อความหรือรูปภาพใดๆ บนอินเทอร์เน็ตที่มีลักษณะหยาบคายหรือไม่เหมาะสม ควรแจ้งให้ผู้ปกครองทราบทันที
3. ไม่ควรไปพบบุคคลใดก็ตามที่รู้จักกันทางอินเทอร์เน็ตโดยไม่ได้รับอนุญาตจาก ผู้ปกครองก่อน และหากผู้ปกครองอนุญาต ก็ควรไปพร้อมกับผู้ปกครอง โดยควรไปพบกันในที่สาธารณะ
4. ไม่ส่งรูปหรือสิ่งใดๆ ให้บุคคลที่รู้จักทางอินเทอร์เน็ต โดยมิได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองก่อน
5. ไม่ตอบคำถามหรือต่อความกับผู้ที่สื่อข้อความหยาบคาย และต้องแจ้งให้ผู้ปกครองทราบทันที
6. ควรเคารพต่อข้อต่อลงในการใช้อินเทอร์เน็ตที่ให้ไว้กับผู้ปกครอง เช่น กำหนดระยะเวลาในการใช้อินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ที่ผู้ปกครองอนุญาตให้เข้าได้
จริยธรรมและคุณธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศร่วมกัน
ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีเป็นจำนวนมากและเพิ่มขึ้นทุกวัน การใช้งานระบบเครือข่ายที่ออนไลน์และส่งข่าวสารถึงกันย่อมมีผู้ที่มีความ ประพฤติไม่ดีปะปนและสร้างปัญหาให้กับผู้ใช้อื่นอยู่เสมอ หลายเครือข่ายจึงได้ออกกฏเกณฑ์การใช้งานภายในเครือข่าย เพื่อให้สมาชิกในเครือข่ายของตนยึดถือ ปฏิบัติตามกฏเกณฑ์และได้รับประโยชน์สูงสุด
ดังนั้น ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนที่เป็นสมาชิกเครือข่ายจะต้องเข้าใจกฏเกณฑ์ข้อ บังคับของ เครือข่ายนั้นมีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้ร่วมใช้บริการคนอื่นและจะต้อง รับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองที่เข้าไปขอใช้บริการต่างๆ บนเครือข่ายบนระบบคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเรียกเข้ามิได้เป็นเพียงเครือ ข่ายขององค์กรที่ผู้ใช้สังกัด แต่เป็นการเชื่อมโยงของเครือข่ายต่างๆ เข้าหากันหลายพันหลายหมื่นเครือข่ายมีข้อมูลข่าวสารอยู่ระหว่างเครือข่าย เป็นจำนวนมาก การส่งข่าวสารในเครือข่ายนั้นอาจทำให้ข่าวสารกระจายเดินทางไปยังเครือข่าย อื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมากหรือแม้แต่การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ฉบับหนึ่งก็อาจจะ ต้องเดินทางผ่านเครือข่ายอีกหลายเครือข่ายกว่าจะถึงปลายทาง ดังนั้นผู้ใช้บริการต้องให้ความสำคัญและตระหนักถึงปัญหาปริมาณข้อมูลข่าวสาร ที่วิ่งอยู่บนเครือข่าย
การใช้งานอย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์จะทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตน่าใช้และ เป็นประโยชน์ร่วมกันอย่างดี กิจกรรมบางอย่างที่ไม่ควรปฏิบัติจะต้องหลีกเลี่ยงเช่นการส่งกระจายข่าวไป เป็นจำนวนมากบนเครือข่าย การส่งเอกสารจดหมายลูกโซ่ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะเป็นผลเสียโดยรวมต่อผู้ใช้และไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ ต่อสังคมอินเทอร์เน็ต
ดังนั้น ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนที่เป็นสมาชิกเครือข่ายจะต้องเข้าใจกฏเกณฑ์ข้อ บังคับของ เครือข่ายนั้นมีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้ร่วมใช้บริการคนอื่นและจะต้อง รับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองที่เข้าไปขอใช้บริการต่างๆ บนเครือข่ายบนระบบคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเรียกเข้ามิได้เป็นเพียงเครือ ข่ายขององค์กรที่ผู้ใช้สังกัด แต่เป็นการเชื่อมโยงของเครือข่ายต่างๆ เข้าหากันหลายพันหลายหมื่นเครือข่ายมีข้อมูลข่าวสารอยู่ระหว่างเครือข่าย เป็นจำนวนมาก การส่งข่าวสารในเครือข่ายนั้นอาจทำให้ข่าวสารกระจายเดินทางไปยังเครือข่าย อื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมากหรือแม้แต่การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ฉบับหนึ่งก็อาจจะ ต้องเดินทางผ่านเครือข่ายอีกหลายเครือข่ายกว่าจะถึงปลายทาง ดังนั้นผู้ใช้บริการต้องให้ความสำคัญและตระหนักถึงปัญหาปริมาณข้อมูลข่าวสาร ที่วิ่งอยู่บนเครือข่าย
การใช้งานอย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์จะทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตน่าใช้และ เป็นประโยชน์ร่วมกันอย่างดี กิจกรรมบางอย่างที่ไม่ควรปฏิบัติจะต้องหลีกเลี่ยงเช่นการส่งกระจายข่าวไป เป็นจำนวนมากบนเครือข่าย การส่งเอกสารจดหมายลูกโซ่ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะเป็นผลเสียโดยรวมต่อผู้ใช้และไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ ต่อสังคมอินเทอร์เน็ต
เพื่อให้การอยู่ร่วมกันในสังคมอินเทอร์เน็ตสงบสุข Arlene H.Rinaldi แห่งมหาวิทยาลัย ฟอร์ริดาแอตแลนติก จึงรวบรวมกฎกติกามารยาทและวางเป็นจรรยาบรรณอินเทอร์เน็ตหรือที่เรียกว่า Netiquette ไว้ดังนี้
คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต
ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนมีเมล์บ็อกซ์หรืออีเมล์แอดเดรสที่ใช้อ้างอิงในการ รับส่งจดหมาย ความรับผิดชอบต่อการใช้งานอีเมล์ในระบบจึงเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องให้ความ สำคัญ เพราะจดหมายมีการรับส่งโดยระบบ ซึ่งหากมีจดหมายค้างในระบบจำนวนมากจะทำให้พื้นที่ บัฟเฟอร์ของจดหมายในระบบหมด จะเป็นผลให้ระบบไม่สามารถรับส่งจดหมายต่อไปได้ หลายต่อหลายครั้งระบบปฏิเสธการรับส่งจดหมายเพราะไฟล์ระบบเต็ม
ดังนั้นจึงควรมีความรับผิดชอบในการดูแลตู้จดหมาย (mail box) ของตนเองดังนี้
- ตรวจสอบจดหมายทุกวันและจะต้องจำกัดจำนวนไฟล์และข้อมูลในตู้จดหมายของตนให้เลือกภายในโควต้า ที่กำหนด
- ลบข้อความหรือจดหมายที่ไม่ต้องการแล้วออกจากดิสต์เพื่อลดปริมาณการใช้ดิสก็ ให้จำนวนจดหมายที่อยู่ในตู้จดหมาย (mail box) มีจำนวนน้อยที่สุด
- ให้ทำการโอนย้ายจดหมายจากระบบไปไว้ยังพีซีหรือฮาร์ดดิสก์ของตนเองเพื่อใช้อ้างอิงในภายหลัง
- พึงระลึกเสมอว่าจดหมายที่เก็บไว้ในตู้จดหมายนี้อาจถูกผู้อื่นแอบอ่านได้ ไม่ควรเก็บข้อมูลหรือจดหมายที่คุณคิดว่าไม่ใช้แล้วเสมือนเป็นประกาศไว้ในตู้ จดหมาย
ผลกระทบการใช้อินเทอร์เน็ต
- ลบข้อความหรือจดหมายที่ไม่ต้องการแล้วออกจากดิสต์เพื่อลดปริมาณการใช้ดิสก็ ให้จำนวนจดหมายที่อยู่ในตู้จดหมาย (mail box) มีจำนวนน้อยที่สุด
- ให้ทำการโอนย้ายจดหมายจากระบบไปไว้ยังพีซีหรือฮาร์ดดิสก์ของตนเองเพื่อใช้อ้างอิงในภายหลัง
- พึงระลึกเสมอว่าจดหมายที่เก็บไว้ในตู้จดหมายนี้อาจถูกผู้อื่นแอบอ่านได้ ไม่ควรเก็บข้อมูลหรือจดหมายที่คุณคิดว่าไม่ใช้แล้วเสมือนเป็นประกาศไว้ในตู้ จดหมาย
ผลกระทบการใช้อินเทอร์เน็ต
1 โทษของอินเทอร์เน็ต
โทษของอินเทอร์เน็ต มีหลากหลายลักษณะ ทั้งที่เป็นแหล่งข้อมูลที่เสียหาย, ข้อมูลไม่ดี ไม่ถูกต้อง, แหล่งประกาศซื้อขายของผิดกฏหมาย, ขายบริการทางเพศ ที่รวมและกระจายของไวรัสคอมพิวเตอร์ต่างๆ
•อินเทอร์เน็ตเป็นระบบอิสระ ไม่มีเจ้าของ ทำให้การควบคุมกระทำได้ยาก
•มีข้อมูลที่มีผลเสียเผยแพร่อยู่ปริมาณมาก
•ไม่มีระบบจัดการข้อมูลที่ดี ทำให้การค้นหากระทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร
•เติบโตเร็วเกินไป
•ข้อมูลบางอย่างอาจไม่จริง ต้องดูให้ดีเสียก่อน อาจถูกหลอกลวง-กลั่นแกล้งจากเพื่อน
•ถ้าเล่นอินเทอร์เน็ตมากเกินไปอาจเสียการเรียนได้
•ข้อมูลบางอย่างก็ไม่เหมาะกับเด็กๆ
•ขณะที่ใช้อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์จะใช้งานไม่ได้ (นั่นจะเป็นเฉพาะการต่ออินเทอร์เน็ตแบบ Dial up
แต่ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงจะสามารถใช้งานโทรศัพท์ที่ต่ออินเทอร์เน็ตได้ด้วย)
•เป็นสถานที่ที่ใช้ติดต่อสื่อสาร เพื่อก่อเหตุร้าย เช่น การวางระเบิด หรือล่อลวงผู้อื่นไปกระทำชำเรา
•ทำให้เสียสุขภาพ เวลาที่ใช้อินเตอร์เนตเป็นเวลานานๆ โดยไม่ได้ขยับเคลื่อนไหว
•มีข้อมูลที่มีผลเสียเผยแพร่อยู่ปริมาณมาก
•ไม่มีระบบจัดการข้อมูลที่ดี ทำให้การค้นหากระทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร
•เติบโตเร็วเกินไป
•ข้อมูลบางอย่างอาจไม่จริง ต้องดูให้ดีเสียก่อน อาจถูกหลอกลวง-กลั่นแกล้งจากเพื่อน
•ถ้าเล่นอินเทอร์เน็ตมากเกินไปอาจเสียการเรียนได้
•ข้อมูลบางอย่างก็ไม่เหมาะกับเด็กๆ
•ขณะที่ใช้อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์จะใช้งานไม่ได้ (นั่นจะเป็นเฉพาะการต่ออินเทอร์เน็ตแบบ Dial up
แต่ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงจะสามารถใช้งานโทรศัพท์ที่ต่ออินเทอร์เน็ตได้ด้วย)
•เป็นสถานที่ที่ใช้ติดต่อสื่อสาร เพื่อก่อเหตุร้าย เช่น การวางระเบิด หรือล่อลวงผู้อื่นไปกระทำชำเรา
•ทำให้เสียสุขภาพ เวลาที่ใช้อินเตอร์เนตเป็นเวลานานๆ โดยไม่ได้ขยับเคลื่อนไหว
2 โรคติดอินเทอร์เน็ต
โรคติดอินเทอร์เน็ต (Webaholic) เป็นอาการทางจิตประเภทหนึ่ง ซึ่งนักจิตวิทยาชื่อ Kimberly S Young ได้ศึกษาและวิเคราะห์ไว้ว่า บุคคลใดที่มีอาการดังต่อไปนี้ อย่างน้อย 4 ประการ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี แสดงว่าเป็นอาการติดอินเทอร์เน็ต
•รู้สึกหมกมุ่นกับอินเทอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ต
•มีความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้นอยู่เรื่อยๆ ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตได้
•รู้สึกหงุดหงิดเมื่อใช้อินเทอร์เน็ตน้อยลง หรือหยุดใช้
•คิดว่าเมื่อใช้อินเทอร์เน็ตแล้ว ทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น
•ใช้อินเทอร์เน็ตในการหลีกเลี่ยงปัญหา
•หลอกคนในครอบครัว หรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตของตนเอง
•มีอาการผิดปกติเมื่อเลิกใช้อินเทอร์เน็ต เช่น หดหู่ กระวนกระวาย
ซึ่งอาการดังกล่าว ถ้ามีมากกว่า 4 ประการในช่วง 1 ปี จะถือว่าเป็นอาการติดอินเทอร์เน็ต ซึ่งส่งผลเสียต่อระบบร่างกาย ทั้งการกิน การขับถ่าย และกระทบต่อการเรียน สภาพสังคมของคนๆ นั้นต่อไป
•มีความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้นอยู่เรื่อยๆ ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตได้
•รู้สึกหงุดหงิดเมื่อใช้อินเทอร์เน็ตน้อยลง หรือหยุดใช้
•คิดว่าเมื่อใช้อินเทอร์เน็ตแล้ว ทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น
•ใช้อินเทอร์เน็ตในการหลีกเลี่ยงปัญหา
•หลอกคนในครอบครัว หรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตของตนเอง
•มีอาการผิดปกติเมื่อเลิกใช้อินเทอร์เน็ต เช่น หดหู่ กระวนกระวาย
ซึ่งอาการดังกล่าว ถ้ามีมากกว่า 4 ประการในช่วง 1 ปี จะถือว่าเป็นอาการติดอินเทอร์เน็ต ซึ่งส่งผลเสียต่อระบบร่างกาย ทั้งการกิน การขับถ่าย และกระทบต่อการเรียน สภาพสังคมของคนๆ นั้นต่อไป
มารยาทการใช้อินเทอร์เน็ต มีดังนี้
1. การใช้อักษรพิมพ์ตัวใหญ่หมดทุกตัวในการเขียนจดหมายจะเป็นเสมือนการตะโกน ดังนั้นควรเลือกใช้ตัวอักษรให้เหมาะสม
2. ไม่ควรใช้อารมณ์ในการตอบโต้ และควรรักษามารยาทโดยใช้คำที่สุภาพ
3. ไม่มีความลับใด ๆ บน Internet ให้นึกเสมอว่าข้อความของเราจะมีคนอ่านมากมายเมื่อเขียนไปแล้วไม่สามารถลบล้างได้ อ่านเิ่มเติม...
2. ไม่ควรใช้อารมณ์ในการตอบโต้ และควรรักษามารยาทโดยใช้คำที่สุภาพ
3. ไม่มีความลับใด ๆ บน Internet ให้นึกเสมอว่าข้อความของเราจะมีคนอ่านมากมายเมื่อเขียนไปแล้วไม่สามารถลบล้างได้ อ่านเิ่มเติม...
การใช้บริการต่างๆบนอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้เกิดการสื่อสารไร้พรมแดน กล่าวคือ ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วโลก สามรถเข้าถึงข้อมูลได้ไม่จำกัดสถานที่และเวลา ดังนั้น จึงมีการนำอินเทอร์เน็ตไปประยุกต์ใช้งานหลากหลายประเภท
4.1 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออีเมล (electronic mail หรือ e-mail)
เป็นบริการใช้ได้รับความนิยมมาก เนื่องจากผู้ใช้งานสามรถรับส่งข้อความเพื่อติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร กับบุคคลอื่นๆ ได้อย่างรวดเร็วกว่าการใช้บริการระบบไปรษณีย์แบบดั้งเดิม นอกจากนี้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ยังสามารถส่งข้อมูลในรูปแบบอื่นๆ นอกเหนือจากตัวอักษรได้อีกด้วย เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง เป็นต้นแนบไปได้อีกด้วย
การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ต้องมีการระบุที่อยู่ของผู้รับเช่นเดียวกับการระบุที่อยู่บนซองของการส่งไปรษณีย์ธรรมดาทั่วไป ซึ่งในการส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ผู้ส่งและผู้รับจะต้องมีที่อยู่เรียกว่า ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แอดเดรส (e-mail Address)
สำหรับรูปแบบของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แอดเดรสจะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ชื่อผู้ใช้ และชื่อเครื่องบริการ โดยใช้เครื่องหมาย @ (ออกเสียงว่า แอ็ท) คั่นระหว่างทั้งสองส่วนนี้ ตัวอย่างเช่น
4.1 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออีเมล (electronic mail หรือ e-mail)
เป็นบริการใช้ได้รับความนิยมมาก เนื่องจากผู้ใช้งานสามรถรับส่งข้อความเพื่อติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร กับบุคคลอื่นๆ ได้อย่างรวดเร็วกว่าการใช้บริการระบบไปรษณีย์แบบดั้งเดิม นอกจากนี้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ยังสามารถส่งข้อมูลในรูปแบบอื่นๆ นอกเหนือจากตัวอักษรได้อีกด้วย เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง เป็นต้นแนบไปได้อีกด้วย
การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ต้องมีการระบุที่อยู่ของผู้รับเช่นเดียวกับการระบุที่อยู่บนซองของการส่งไปรษณีย์ธรรมดาทั่วไป ซึ่งในการส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ผู้ส่งและผู้รับจะต้องมีที่อยู่เรียกว่า ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แอดเดรส (e-mail Address)
สำหรับรูปแบบของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แอดเดรสจะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ชื่อผู้ใช้ และชื่อเครื่องบริการ โดยใช้เครื่องหมาย @ (ออกเสียงว่า แอ็ท) คั่นระหว่างทั้งสองส่วนนี้ ตัวอย่างเช่น
เมื่อผู้ใช้ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว ไปรษณีย์จะถูกเก็บไว้ที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์หรือเมลเซิร์ฟเวอร์ (mail server) จนกระทั่งผู้รับมาเปิดอ่าน
รูปแบบการใช้งานไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบัน มีดังนี้
1) เว็บเมล (Web Mail) เป็นการบริการการรับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ผ่านโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ โดยผู้ใช้สามารถสมัครลงทะเบียนในเว็บไซต์ที่เปิดให้บริการได้ จากนั้นผู้ใช้จะได้รับไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แอดเดรสและรหัสผ่าน เพื่อขอเข้าใช้บริการผ่านเว็บไซต์ดังกล่าว ซึ่งเว็บเมลส่วนใหญ่จะให้โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ
1) เว็บเมล (Web Mail) เป็นการบริการการรับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ผ่านโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ โดยผู้ใช้สามารถสมัครลงทะเบียนในเว็บไซต์ที่เปิดให้บริการได้ จากนั้นผู้ใช้จะได้รับไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แอดเดรสและรหัสผ่าน เพื่อขอเข้าใช้บริการผ่านเว็บไซต์ดังกล่าว ซึ่งเว็บเมลส่วนใหญ่จะให้โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ
2) พ๊อปเมล (POP Mail) เป็นบริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์โดยใช้โปรแกรมจัดการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งโปรแกรมจัดการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์จะติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่รับ-ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ โปรแกรมพ๊อปเมลที่นิยมใช้ เช่น Microsoft Outlook. Windows Mail, Netscape Mail เป็นต้น
4.2 การโอนย้ายแฟ้มข้อมูล การโอนย้ายแฟ้มข้อมูล (File Transfer Protocol: FTP) เป็นการโอนแฟ้มข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง ซึ่งอาจอยู่ใกล้หรือไกลกัน ในการโอนย้ายข้อมูล เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้กำลังใช้งานอยู่และมีการเรียกใช้โปรแกรมสำหรับการโอนย้ายแฟ้มข้อมูล เรียกว่า เครื่องต้นทาง (Local host) ซึ่งทำหน้าที่เป็นเครื่องลูกข่าย ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำการติดต่อไปเพื่อโอนย้ายแฟ้มข้อมูลนั้นเรียกว่าเครื่องปลายทาง (remote host) โดยทำหน้าที่เป็นเครื่องแม่ข่าย ซึ่งผู้ใช้งานโปรแกรมที่เครื่องต้นทางจะต้องระบุชื่อเครื่องหรือหมายเลขไอพีของเครื่องปลายทางที่ต้องการใช้บริการ
การโอนย้ายแฟ้มข้อมูล มีการทำ 2 ลักษณะ คือ
1. get เป็นการโอนย้ายแฟ้มข้อมูลจากเครื่องปลายทางมายังเครื่องต้นทาง (download)
2. put เป็นการโอนย้ายแฟ้มข้อมูลจากเครื่องต้นทางไปยังเครื่องปลายทาง (upload)
2. put เป็นการโอนย้ายแฟ้มข้อมูลจากเครื่องต้นทางไปยังเครื่องปลายทาง (upload)
การบริการโอนย้ายแฟ้มข้อมูล มี 2 ลักษณะ ได้แก่
1. การโอนย้ายข้อมูลด้วยโปรแกรมโอนย้ายข้อมูล ทั้งที่เป็นแบบแจกฟรี (freeware) และแบบให้ทดลองใช้ก่อน (shareware) เช่น WS_FTP CuteFTP เป็นต้น
2. โอนย้ายแฟ้มข้อมูลผ่าน Web Browser
1. การโอนย้ายข้อมูลด้วยโปรแกรมโอนย้ายข้อมูล ทั้งที่เป็นแบบแจกฟรี (freeware) และแบบให้ทดลองใช้ก่อน (shareware) เช่น WS_FTP CuteFTP เป็นต้น
2. โอนย้ายแฟ้มข้อมูลผ่าน Web Browser
4.3 การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น (Internet forum) เป็นบริการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การอภิปรายและแสดงความคิดเห็นร่วมกันของผู้คนในสังคมผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งแนวโน้มล่าสุดของการใช้อินเทอร์เน็ต คือ ใช้เป็นแหล่งพบปะสังสรรค์เพื่อสร้างเครือข่ายทางสังคม (social network) เทคโนโลยีการแลกเปลี่ยนข่าวสารมีหลากหลายรูปแบบ เช่น ยูสเน็ต (usenet) บล็อก (blog) เป็นต้น
1) ยูสเน็ต (usenet) เป็นบริการในลักษณะกลุ่มสนทนาที่แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยผู้ใช้ต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิก (subscribe) กลุ่มหัวข้อใดที่ตนเองสนใจ และเมื่อเป็นสมาชิกแล้วก็จะสามารถเรียกดูข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่อยู่ในกลุ่มหัวข้อนั้นได้และยังสามารถขอความคิดเห็น หรือร่วมแสดงความคิดเห็น สอบถามปัญหา หรือตอบปัญหาของผู้อื่นที่ถามมาในกลุ่มหัวข้อนั้น ๆ ได้ สำหรับยูสเน็ตในเว็บไซต์ต่างๆ ได้มีการจัดแบ่งเป็นกลุ่มหัวข้อต่างๆ เช่น กลุ่มการเมือง กลุ่มเทคนิคด้านคอมพิวเตอร์ กลุ่มดนตรี กลุ่มศิลปะ กลุ่มกีฬา เป็นต้น ซึ่งหากผู้ใช้ไม่ต้องการอ่านข่าวสารในกลุ่มหัวข้อนั้นอีก ก็สามารถยกเลิกการเป็นสมาชิก (unsubscribe) ของกลุ่มหัวข้อนั้นได้
2) บล็อก (blog) ย่อมาจากคำว่า เว็บบล็อก (webblog) เป็นเว็บไซต์ที่ใช้เขียนบนทึกเรื่องราว โดยเรียงลำดับตามเวลา เพื่อสื่อสารความรู้สึก มุมมอง ประสบการณ์ ความรู้ และข่าวสาร โดยจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้ส่วนบนสุดของเว็บไซต์หรือบางครั้งอาจเรียกว่า ไดอารีออนไลน์ (diary online) ข้อมูลหรือความเห็นที่ถูกนำเสนอในบล็อก อาจจัดทำโดยบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่เป็นเจ้าของบล็อก หรือบุคคลที่มีความสนใจร่วมกัน หรือมีความเชี่ยวชาญเฉพาะเหมือนกัน จนเกิดชุมชนในบล็อกขึ้น ซึ่งผู้ใช้คนอื่น ๆ สามารถเข้ามาแสดงความคิดเห็นร่วมกันได้ และสามารถอ่านเรื่องราวที่เกิดขึ้นตามลำดับเวลาได้ โดยข้อมูลหรือความเห็นสามารถนำเสนอในรูปของข้อความ ภาพ หรือมัลติมีเดีย ทั้งนี้ผู้เขียน (blogger) ต้องพึงระวังการเขียนข้อความในลักษณะหมิ่นประมาท ยั่วยุให้ผู้อื่นกระทำผิดกฎหมาย ซึ่งอาจมีความผิดตาม พ.ร.บ. ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ได้ ปัจจุบันบล็อกที่นิยมใช้ในประเทศไทยมีหลายเว็บไซต์ เช่น Hi5, Face book, Wikipedia, YouTube เป็นต้น
4.4 การสนทนาผ่านอินเทอร์เน็ต การสนทนาผ่านอินเทอร์เน็ต มี 2 รูปแบบ ดังนี้
1) การสนทนาเป็นกลุ่ม เป็นการสนทนาโดยคู่สนทนาจะพิมพ์ข้อความไปยังเครื่องเซิร์ฟเวอร์ จากนั้นเครื่องเซิร์ฟเวอร์จะส่งข้อความแสดงบนหน้าจอของคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่ร่วมสนทนา ซึ่งผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านเข้าสู่ระบบ โดยส่วนใหญ่เว็บไซต์จะแบ่งห้องสนทนา (chat room) เป็นกลุ่มหัวข้อต่างๆ ให้ผู้ใช้ได้เลือกใช้บริการตามความสนใจ ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ให้บริการนี้ เช่นwww.sanook.com www.pantip.com เป็นต้น
1) การสนทนาเป็นกลุ่ม เป็นการสนทนาโดยคู่สนทนาจะพิมพ์ข้อความไปยังเครื่องเซิร์ฟเวอร์ จากนั้นเครื่องเซิร์ฟเวอร์จะส่งข้อความแสดงบนหน้าจอของคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่ร่วมสนทนา ซึ่งผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านเข้าสู่ระบบ โดยส่วนใหญ่เว็บไซต์จะแบ่งห้องสนทนา (chat room) เป็นกลุ่มหัวข้อต่างๆ ให้ผู้ใช้ได้เลือกใช้บริการตามความสนใจ ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ให้บริการนี้ เช่นwww.sanook.com www.pantip.com เป็นต้น
2) การสนทนาระหว่างผู้ใช้โดยตรง เป็นการสนทนาโดยมีเซิร์ฟเวอร์บอกตำแหน่งของโปรแกรมสนทนา (instant messaging) ของคู่สนทนา ทำให้ผู้ใช้สามารถสนทนากับผู้ใช้อื่นๆ ได้โดยตรง การสนทนาไก้ทั้งการพิมพ์ข้อความ การส่งภาพกราฟิก เสียง และภาพเคลื่อนไหว นอกจากนี้โปรแกรมยังมีฟังก์ชั่นและลูกเล่นต่างๆ ที่เป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้โปรแกรมสนทนาที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ MSN Messenger, AOL Instant Messenger, Yahoo Messenger, Google Talk, NET Messenger Service, Jabber, ICQ และ Skype
4.5 บริการค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต การค้นหาข้อมูลในอดีตนักเรียนจะต้องเดินทางไปห้องสมุด เพื่อหาหนังสือที่เกี่ยวข้อง แต่ปัจจุบันมีอินเทอร์เน็ตซึ่งแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ เปรียบเสมือนข้องสมุดหลายแห่งทั่วโลกที่เชื่อมโยงกัน ดังนั้น การสืบค้นข้อมูลจึงทำได้สะดวกขึ้น แต่งสิ่งหนึ่งที่นักเรียนจะต้อคำนึงถึง คือ การค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตนั้น อาจต้องใช้เวลานานมาก กว่าจะพบเว็บเพจที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ หรืออาจพบแต่เป็นเนื้อหาที่ไม่ถูกต้อง และบางครั้งอาจหาไม่พบเลย โดยวิธีที่ดีที่สุด คือ การสืบค้นข้อมูลจากเว็บไซต์ค้นหาข้อมูล (search site) ซึ่งเว็บไซต์ค้นหาข้อมูลแบ่งเป็น 2 ประเภทตามลักษณะการทำงาน ดั้งนี้
1) เว็บไซต์ที่มีเครื่องมือหรือโปรแกรมการค้นหา (search engine)เป็นเว็บไซต์ที่สามารถให้ผู้ใช้หาข้อมูลโดยการระบุคำสำคัญ เพื่อค้นหาข้อมูลด้วยโปรแกรมการค้นหา ซึ่งข้อมูลจะครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่นๆ โปรแกรมการค้นหาส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ (keywords) ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไปและจะแสดงรายการผลลัพธ์ที่ตรงหรือใกล้เคียงกับคำสำคัญที่สุด ตัวอย่าง เว็บไซต์ที่มีเครื่องมือ หรือโปรแกรมการค้นหาที่มีชื่อเสียงทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น www.google.com, www.bing.com, www.search.com เป็นต้น
1) เว็บไซต์ที่มีเครื่องมือหรือโปรแกรมการค้นหา (search engine)เป็นเว็บไซต์ที่สามารถให้ผู้ใช้หาข้อมูลโดยการระบุคำสำคัญ เพื่อค้นหาข้อมูลด้วยโปรแกรมการค้นหา ซึ่งข้อมูลจะครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่นๆ โปรแกรมการค้นหาส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ (keywords) ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไปและจะแสดงรายการผลลัพธ์ที่ตรงหรือใกล้เคียงกับคำสำคัญที่สุด ตัวอย่าง เว็บไซต์ที่มีเครื่องมือ หรือโปรแกรมการค้นหาที่มีชื่อเสียงทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น www.google.com, www.bing.com, www.search.com เป็นต้น
2) เว็บไซต์ที่มีการจัดข้อมูลตามหมวดหมู่ (web directories) เป็นเว็บไซต์ที่มีการรวบรวมข้อมูลเว็บไซต์ต่างๆ ในอินเทอร์เน็ต โดยแต่ละเว็ปไซต์จะถูกจัดให้อยู่ในหมวดหมู่ที่เหมาะสม ตัวอย่างเว็บไซต์ที่มีการจัดข้อมูลตามหมวดหมู่ เช่น www.sanook.com , www.yahoo.com เป็นต้น
การค้นหาข้อมูลด้วยเว็บไซต์ที่มีการจัดข้อมูลตามหมวดหมู่ ทำให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกเพราะสามารถเลือกค้นข้อมูลจากหมวดหมู่เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการมากที่สุด แต่หากเว็บไซต์มีการจัดแบ่งหมวดหมู่โดยไม่มีมาตรฐาน อาจทำให้ผู้ใช้เกิดความสับสนได้ง่าย
นอกจากบริการทั้ง 5 บริการดังกล่าวบนอินเทอร์เน็ตแล้ว ปัจจุบันยังมีบริการอื่นๆ เกิดขึ้นอีกมากมาย ทั้งนี้เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต ดั้งนี้
นอกจากบริการทั้ง 5 บริการดังกล่าวบนอินเทอร์เน็ตแล้ว ปัจจุบันยังมีบริการอื่นๆ เกิดขึ้นอีกมากมาย ทั้งนี้เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต ดั้งนี้
การเชื่อมต่อกับอิเทอร์เน็ต
การเชื่อมเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตที่นิยมใช้สำหรับผู้ใช้งานทั่วไปหรือหน่วยงานขนาดเล็กจะใช้การเชื่อมต่อแบบหมุนโทรศัพท์ (Dial-Up Connection) ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อแบบชั่วคราวหรือเฉพาะบางเวลา ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสิ่งที่จำเป็นในการเชื่อมต่อ มีดังนี้
1 เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้ในการส่งและรับข้อมูล
2 เว็บบราวเซอร์ เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการดึงข้อมูลมาจาเว็บเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งจัดเก็บอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า HTML (Hyper Text Markup Language) และแปลความหมายของรูปแบบข้อมูลที่ได้กำหนดเอาไว้เพื่อนำเสนอแก่ผู้ใช้
3 หมายเลขโทรศัพท์และสายโทรศัพท์ สำหรับเป็นสื่อกลางในการส่งข้อมูลข่าวสาร โดยผู้ใช้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโทรศัพท์เพียง 3 บาทต่อครั้งของการเชื่อมต่อ
4 โมเด็ม เป็นอุปกรณ์สำหรับแปลงสัญญาณข้อมูลของคอมพิวเตอร์ซึ่งอยู่ในรูปแบบดิจิทัล (Digital) ให้เป็นสัญญาณข้อมูลรูปแบบแอนะล็อก (analog) และเมื่อเป็นผู้ส่งจะแปลงสัญญาณข้อมูลรูปแบบแอนะล็อกให้เป็นดิจิทัล
5 บริการชุดอินเทอร์เน็ตจากผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ใช้บริการสามารถเลือกขอเป็นสมาชิกเป็นรายเดือน รายปี หรืออาจเป็นการซื้อชุดอินเทอร์เน็ตแบบสำเร็จรูป โดยคิดค่าใช้บริการเป็นหน่วยชั่วโมง บริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย เช่น ทีโอที กสท โทรคมนาคม ทีทีแอนด์ที ล็อกอินโฟ 3BB เป็นต้น
2 เว็บบราวเซอร์ เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการดึงข้อมูลมาจาเว็บเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งจัดเก็บอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า HTML (Hyper Text Markup Language) และแปลความหมายของรูปแบบข้อมูลที่ได้กำหนดเอาไว้เพื่อนำเสนอแก่ผู้ใช้
3 หมายเลขโทรศัพท์และสายโทรศัพท์ สำหรับเป็นสื่อกลางในการส่งข้อมูลข่าวสาร โดยผู้ใช้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโทรศัพท์เพียง 3 บาทต่อครั้งของการเชื่อมต่อ
4 โมเด็ม เป็นอุปกรณ์สำหรับแปลงสัญญาณข้อมูลของคอมพิวเตอร์ซึ่งอยู่ในรูปแบบดิจิทัล (Digital) ให้เป็นสัญญาณข้อมูลรูปแบบแอนะล็อก (analog) และเมื่อเป็นผู้ส่งจะแปลงสัญญาณข้อมูลรูปแบบแอนะล็อกให้เป็นดิจิทัล
5 บริการชุดอินเทอร์เน็ตจากผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ใช้บริการสามารถเลือกขอเป็นสมาชิกเป็นรายเดือน รายปี หรืออาจเป็นการซื้อชุดอินเทอร์เน็ตแบบสำเร็จรูป โดยคิดค่าใช้บริการเป็นหน่วยชั่วโมง บริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย เช่น ทีโอที กสท โทรคมนาคม ทีทีแอนด์ที ล็อกอินโฟ 3BB เป็นต้น
การทำงานของอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต ประวัติอินเทอร์เน็ต ประโยชน์และการใช้งานอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่สุดของโลก โดยจะเป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องจากทั่วโลกมาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ซึ่งช่วยให้สามารถติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ทั่วโลก ในการติดต่อกันระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้องมีการระบุว่า ส่งมาจากไหน ส่งไปให้ใครซึ่งต้องมีการระบุ ชื่อเครื่อง (คล้ายกับเลขที่บ้าน) ในอินเทอร์เน็ตใช้ข้อตกลงในการติดต่อที่เรียกว่า TCP/IP (ข้อตกลงที่ทำให้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันได้) ซึ่งจะใช้สิ่งที่เรียกค่า “ไอพี-แอดเดรส” (IP-Address) ในการระบุชื่อเครื่องจะไม่มีเบอร์ที่ซํ้ากันได้
อินเทอร์เน็ต ระบบการเชื่อมต่อของอินเทอร์เน็ต
ประวัติของอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตกำเนิดขึ้นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2512 โดยองค์กรทางทหาร ของสหรัฐอเมริกา ชื่อว่า ยู.เอส.ดีเฟนซ์ ดีพาร์ทเมนท์ ( U.S. Defence Department ) เป็นผู้คิดค้นระบบขึ้นมา มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อให้มีระบบเครือข่ายที่ไม่มีวันตายแม้จะมีสงคราม ระบบการสื่อสารถูกทำลาย หรือตัดขาด แต่ระบบเครือข่ายแบบนี้ยังทำงานได้ซึ่งระบบดังกล่าวจะใช้วิธีการส่งข้อมูลในรูปของคลื่นไมโครเวฟ ฝ่ายวิจัยขององค์กรจึงได้จัดตั้งระบบเน็ตเวริ์กขึ้นมา เรียกว่า ARPAnet ย่อมาจากคำว่า Advance Research Project Agency net ซึ่งประสบความสำเร็จและได้รับความนิยมในหมู่ของหน่วยงานทหาร องค์กร รัฐบาล และสถาบันการศึกษาต่างๆ เป็นอย่างมาก
การเชื่อมต่อในภาพแรกแบบเดิม ถ้าระบบเครือข่ายถูกตัดขาด ระบบก็จะเสียหายและทำให้การเชื่อมต่อขาดออกจากกัน แต่ในเครือข่ายแบบใหม่ แม้ว่าระบบเครือข่ายหนึ่งถูกตัดขาด เครือข่ายก็ยังดำเนินไปได้ไม่เสียหาย เพราะโดยตัวระบบก็หาช่องทางอื่นเชื่อมโยงกันจนได้ในระยะแรก เมื่อ ARPAnet ประสบความสำเร็จ ก็มีองค์กรมหาวิทยาลัยต่างๆ ให้ความสนใจเข้ามาร่วมในโครงข่ายมากขึ้น โดยเน้นการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Mail ) ระหว่างกันเป็นหลัก ต่อมาก็ได้ขยายการบริการไปถึงการส่งแฟ้มข้อมูลข่าวสารและส่งข่าวสารความรู้ทั่วไป แต่ไม่ได้ใช้ในเชิงพาณิชย์ เน้นการให้บริการด้านวิชาการเป็นหลัก
ปี พ.ศ. 2523 คนทั่วไปเริ่มสนใจอินเทอร์เน็ตมากขึ้น มีการนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ในเชิงพาณิชย์ มีการท าธุรกิจบนอินเทอร์เน็ต บริษัท ห้างร้านต่างๆ ก็เข้าร่วมเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมากขึ้น
ความหมายเเละพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต (Internet) คือ เครือข่ายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกัน มาจากคำว่า Inter Connection Network
อินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีขนาดใหญ่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง
ทั่วโลก สามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้ โดยใช้มาตรฐานในการรับส่งข้อมูลที่เป็นหนึ่งเดียว หรือที่เรียกว่า
โปรโตคอล (Protocol) ซึ่งโปรโตคอล ที่ใช้บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีชื่อว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP : Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
ทั่วโลก สามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้ โดยใช้มาตรฐานในการรับส่งข้อมูลที่เป็นหนึ่งเดียว หรือที่เรียกว่า
โปรโตคอล (Protocol) ซึ่งโปรโตคอล ที่ใช้บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีชื่อว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP : Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
พัฒนาการของอินเทอร์เน็ต
ปี พ.ศ. 2500 (1957) โซเวียดได้ปล่อยดาวเทียม Sputnik ทำให้สหรัฐอเมริกาได้ตระหนักถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนั้น ค.ศ. 2512 (1969) กองทัพสหรัฐต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยงทางการทหาร และความเป็นไปได้ในการถูกโจมตี ด้วยอาวุธปรมาณู หรือนิวเคลียร์ การถูกทำลายล้าง ศูนย์คอมพิวเตอร์ และระบบการสื่อสารข้อมูล อาจทำให้เกิดปัญหาทางการรบ และในยุคนี้ ระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีหลากหลายมากมายหลายแบบ ทำให้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร และโปรแกรมกันได้ จึงมีแนวความคิด ในการวิจัยระบบที่สามารถ
เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ และแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างระบบที่แตกต่างกันได้ ตลอดจนสามารถรับส่งข้อมูลระหว่างกัน ได้อย่างไม่ผิดพลาด แม้ว่าคอมพิวเตอร์บางเครื่อง หรือสายรับส่งสัญญาณ เสียหายหรือถูกทำลาย กระทรวงกลาโหมอเมริกัน (DoD = Department of Defense) ได้ให้ทุนที่มีชื่อว่า DARPA (Defense Advanced Research Project Agency) ภายใต้การควบคุมของ Dr. J.C.R. Licklider ได้ทำการทดลอง ระบบเครือข่ายที่มีชื่อว่า DARPA Network และต่อมาได้กลายสภาพเป็น ARPANet (Advanced Research Projects Agency Network) และต่อมาได้พัฒนาเป็น INTERNET ในที่สุด
เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ และแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างระบบที่แตกต่างกันได้ ตลอดจนสามารถรับส่งข้อมูลระหว่างกัน ได้อย่างไม่ผิดพลาด แม้ว่าคอมพิวเตอร์บางเครื่อง หรือสายรับส่งสัญญาณ เสียหายหรือถูกทำลาย กระทรวงกลาโหมอเมริกัน (DoD = Department of Defense) ได้ให้ทุนที่มีชื่อว่า DARPA (Defense Advanced Research Project Agency) ภายใต้การควบคุมของ Dr. J.C.R. Licklider ได้ทำการทดลอง ระบบเครือข่ายที่มีชื่อว่า DARPA Network และต่อมาได้กลายสภาพเป็น ARPANet (Advanced Research Projects Agency Network) และต่อมาได้พัฒนาเป็น INTERNET ในที่สุด
การทำงานของอินเทอร์เน็ต
การสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์จะมีโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งเป็นระเบียบวิธีการสื่อสารที่เป็นมาตรฐานของการเชื่อมต่อกำหนดไว้ โปรโตคอลที่เป็นมาตรฐานสำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต คือ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะต้องมีหมายเลขประจำเครื่อง ที่เรียกว่า IP Address เพื่อเอาไว้อ้างอิงหรือติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย ซึ่ง IP ในที่นี้ก็คือ Internet Protocol ตัวเดียวกับใน TCP/IP นั่นเอง IP address ถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่งขนาด 32 บิต ใน 1 ชุดนี้จะมีตัวเลขถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิตเท่าๆ กัน เวลาเขียนก็แปลงให้เป็นเลขฐานสิบก่อนเพื่อความง่ายแล้วเขียนโดยคั่นแต่ละส่วนด้วยจุด (.) ดังนั้นในตัวเลขแต่ละส่วนนี้จึงมีค่าได้ไม่เกิน 256 คือ ตั้งแต่ 0 จนถึง 255 เท่านั้น เช่น IP address ของเครื่องคอมพิวเตอร์ของสถาบันราชภัฎสวนดุสิต คือ 203.183.233.6 ซึ่ง IP Address ชุดนี้จะใช้เป็นที่อยู่เพื่อติดต่อกับเครื่องพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย อ่านเพิ่มเติม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)